ทำไมถึงต้องมี จป บริหาร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร จป บริหาร
หลายคนคงมีความสงสัยว่าหากจะสามารถเป็น จป บริหาร หรือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัระดับ บริหารได้ จะต้องทำอย่างไร วันนี้เรามีวิธีการและขั้นตอนในการเป็น จป บริหาร หรือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับบริหาร มาบอกให้ฟัง
มาตรา ๘ ให้นายจ้างบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางาน ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กําหนดในกฎกระทรวงการกําหนดมาตรฐานตามวรรคหนึ่ง ให้นายจ้างจัดทําเอกสารหรือรายงานใด โดยมีการตรวจสอบหรือรับรองโดยบุคคล หรือนิติบุคคลตามที่กําหนดในกฎกระทรวงให้ลูกจ้างมีหน้าที่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานตามมาตรฐานที่กําหนดในวรรคหนึ่ง
เริ่มต้นจากกฎหมายก่อนตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้กำหนดให้สถานประกอบกิจการจะต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับต่างๆเพื่อดูแลความปลอดภัยในการทำงานให้กับลูกจ้างไม่ให้เกิดอุบัติเหตุรวมไปถึงคอยดูแลด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เกิดความปลอดภัย
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยนั้นสามารถจำแนกได้หลายระดับ
เช่น เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน ระดับเทคนิค ระดับบริหาร การที่เราจะเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหารได้นั้น มีสองปัจจัยหลักๆดังนี้
จะต้องมีการแต่งตั้งโดยนายจ้างว่าบุคคลดังกล่าวนั้นอยู่ในตำแหน่งระดับบริหารจริงๆ ซึ่งการแต่งตั้งนี้นายจ้างจะต้องทำโดยเป็นลายอักษรเท่านั้น ไม่สามารถที่จะแต่งตั้งทางวาจาได้ โดยรูปแบบในการแต่งตั้งไม่ได้มีการกำหนดแต่อย่างใด สามารถทำในรูปแบบมาตรฐานภายในองค์กรได้เลย รวมไปถึงแบบฟอร์มการแต่งตั้ง เช่นกัน หลังจากที่ได้ทำการแต่งตั้งว่า มีตำแหน่งบริหารในองค์กรนั้นแล้ว ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างคนดังกล่าวนั้นต้องผ่าน การฝึกอบรม จป บริหาร ตามหลักสูตรที่กฎหมายกำหนด
โดยหลักสูตรนี้จะเรียนระยะเวลา 2 วัน จำนวน 12 ชั่วโมง เมื่อเรียนเสร็จแล้วจะได้รับวุฒิบัตร เพื่อนำไปยื่นขึ้นทะเบียนกับกรมสวัสดิการในเขตพื้นที่ของสถานประกอบกิจการเรานั่นเอง
การขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหารนั้นจะต้องทำการยื่นขึ้นทะเบียนภายใน 15 วัน นับจากแต่งตั้ง
นั่นหมายความว่าเมื่อทำการแต่งตั้งแล้วจะต้องรีบส่งลูกจ้างคนดังกล่าวไปอบรม จป บริหารนั่นเอง เมื่อเราทำการขึ้นทะเบียนเสร็จแล้วเราจะได้เลขทะเบียนอย่างเป็นทางการมา นั่นถึงจะถือว่าเป็นการสิ้นสุดการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร เรียบร้อยอย่างถูกต้องตามกฏหมาย หลายสถานประกอบกิจการไม่ยอมจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในระดับต่างๆ
สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายเพราะหากแต่ละตำแหน่งไม่มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน นั่นหมายความว่าในสถานประกอบกิจการดังกล่าวจะไม่มีมาตรการป้องกันอุบัติเหตุและมีการหารือ ด้านความปลอดภัยในการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน
สิ่งเหล่านี้หรือบทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานเราจะได้เรียนรู้ในหลักสูตร อบรมความปลอดภัยถ้าเกิดไม่ได้อบรมก็จะไม่รู้ถึงวิธีการปฏิบัติ วิธีการวิเคราะห์ความเสี่ยงที่เป็นอันตราย รวมไปถึงเทคนิคต่างๆในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ดังนั้นสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่สำคัญที่ไม่ควรจะมองข้าม เพื่อให้การดำเนินกิจการในองค์กรสามารถทำได้อย่างยั่งยืน นายจ้างควรให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้เป็นอย่างมาก
ความสำคัญที่นายจ้างพึงตระหนักเกี่ยวกับ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในองค์กร
- มาตรา ๑๓ ให้นายจ้างจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน บุคลากร หน่วยงานหรือคณะบุคคล เพื่อดําเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานและบุคลากรตามวรรคหนึ่งจะต้องขึ้นทะเบียนต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ให้นําบทบัญญัติ มาตรา ๙ วรรคสอง และมาตรา ๑๐ มาใช้บังคับกับการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน โดยอนุโลม
- มาตรา ๑๖ ให้นายจ้างจัดให้ผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างทุกคนได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน เพื่อให้บริหารจัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมใน การทํางานได้อย่างปลอดภัยในกรณีที่นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทํางาน เปลี่ยนงาน เปลี่ยนสถานที่ทํางาน หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักร หรืออุปกรณ์ ซึ่งอาจทําให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัยให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมลูกจ้าง ทุกคนก่อนการเริ่มทํางานการฝึกอบรมตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนด
- มาตรา ๕๖ นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๓ มาตรา ๑๖ หรือมาตรา ๓๒ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- มาตรา ๕๗ นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๔ หรือ มาตรา ๓๔ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท