Basic Fire Fighting head

การอบรมดับเพลิงขั้นต้นสำหรับโรงงานเหมาะกับโรงงานประเภทใดบ้าง

by Kristina Perkins

หากพูดถึงเพลิงไหม้ เรามักจะพบว่าสาเหตุหลักๆ มักจะมาจากความประมาทของมนุษย์ และความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ การอบรมดับเพลิงขั้นต้นจะทำให้เราได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกัน และระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการ การซึ่งทำให้พนักงานทุกคนสามารถตอบโต้เหตุฉุกเฉินเพลิงไหม้ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

การเกิดเพลิงไหม้

ก่อนที่จะไปเรียนรู้เรื่องของการดับเพลิงขั้นต้น เรามักจะต้องมีความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับทฤษฎีการเกิดเพลิงไหม้ หรือที่เรามักจะพบกันอยู่บ่อยครั้งเรียกอีกอย่างหนึ่งได้ว่า การสันดาปหรือการเผาไหม้

การสันดาป คือ ปฏิกิริยาของสารเคมีที่เกิดการรวมตัวกันไม่ว่าจะเป็นการรวมตัวของ เชื้อเพลิง ความร้อน และออกซิเจน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบางสิ่งทางวิทยาศาสตร์จนทำให้ไฟลุกติดขึ้นมาก่อนที่จะเกิดสามอย่างนี้มารวมตัวกันเราจะเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า ทฤษฎีสามเหลี่ยมของการลุกเกิดไฟ

โดยมีองค์ประกอบหลักๆอยู่สามอย่างคือ

  1. เชื้อเพลิง
  2. ความร้อน
  3. อากาศหรือออกซิเจน

3 อย่างนี้ เมื่ออยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสม จะสามารถทำให้เกิดการลุกติดไฟได้ เช่น เชื้อเพลิงประเภทต่างๆ และอุณหภูมิความร้อนที่ถึงจุดที่เหมาะสม บวกกับบริเวณเหล่านั้นมีอากาศหรือออกซิเจน ก็ทำให้ฝ่ายสามารถติดไฟได้ทันที

โดยหลักๆ เราจะแบ่งเพลิงออกเป็นประเภทต่างๆได้ โดยมีมาตรฐานที่เกี่ยวข้องหลักๆ อยู่สองอย่าง คือ

  • มาตรฐานตามกฏหมายไทยจะแบ่งเพลิงออกเป็น 4 ประเภท
  • มาตรฐานของ NFPA จะแบ่งชนิดของเพลิงออกเป็น 5 ประเภท

Basic Fire Fighting2

ประเภทของเพลิงไหม้

เรามีความจำเป็นต้องแยกประเภทของเพลิงออก เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการและใช้วิธีการหรืออุปกรณ์ในการเข้าดับไฟแต่ละประเภท

ในต่างประเทศจะแบ่งเพื่อนออกเป็นได้หลักๆ 5 ประเภท

  1. ประเภทเอ (Class A) : เพลิงไหม้ ของแข็งที่เป็นสารอินทรีย์ (Organic solids) เช่น กระดาษ ไม้ฯลฯ
  2. ประเภทบี (Class B) : เพลิงไหม้ของเหลวไวไฟ (Flammable liquids) และของแข็งและถูกทำให้เป็นของเหลวได้ (Liquifiable solids)
  3. ประเภทซี (Class C) : เพลิงไหม้ที่มีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่ (Flammable gases)
  4. ประเภทดี (Class D) : เพลิงไหม้โลหะ (Metals)
  5. ประเภทเค (Class k) : เพลิงไหม้ไขมันและน้ำมันใช้ในการปรุงอาหาร (Cooking fat and oil)

ในกฎหมายของประเทศไทยจะเแบ่งออกเพียง 4 ประเภทคือ

  1. ประเภทเอ (Class A) : เพลิงไหม้ ของแข็งที่เป็นสารอินทรีย์ (Organic solids) เช่น กระดาษ ไม้ฯลฯ
  2. ประเภทบี(Class B) : เพลิงไหม้ของเหลวไวไฟ (Flammable liquids) และของแข็งและถูกทำให้เป็นของเหลวได้(Liquifiable solids)
  3. ประเภทซี (Class C) : เพลิงไหม้ที่มีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่ (Flammable gases)
  4. ประเภทดี (Class D) : เพลิงไหม้โลหะ (Metals)

Basic Fire Fighting3

วิธีการดับเพลิงแบ่งได้ดังนี้

  1. การกำจัดเชื้อเพลิง (Eliminate Fuel Supply) นำเชื้อเพลิงออกไปจากบริเวณเกิดอัคคีภัย และสำหรับกรณีขนถ่ายเอาเชื้อเพลิงออกไปไม่ได้ ควรใช้วิธีนำสารอื่นๆ มาเคลือบผิวของเชื้อเพลิงเอาไว้ เช่น การใช้ผงเคมี โฟม น้ำละลายด้วยผงซักฟอก ซึ่งเมื่อฉีดลงบนผิววัสดุแล้วจะปกคลุมอยู่นาน ตราบเท่าที่น้ำหรือสารเคมีอื่นๆ ที่ผสมในน้ำยังไม่สลายตัว
  2. การป้องกันออกซิเจนในอากาศรวมตัวกับเชื้อเพลิง (Prevent Oxygen In Air Combining With Fuel)  การป้องกันออกซิเจนในอากาศรวมตัวกับเชื้อเพลิงทำได้สองอย่าง คือ การใช้ก๊าซเฉื่อยไปลดจำนวนออกซิเจนในอากาศ หรือการใช้สิ่งที่ผนึกอากาศคลุมเชื้อเพลิงไว้ สำหรับพื้นที่ๆ มีไฟไหม้ไม่ใหญ่โตนัก การใช้คาร์บอนไดออกไซด์ ผงเคมีแห้ง หรือไอน้ำจะได้ผลดี โฟมเป็นตัวกั้นระหว่างเชื้อเพลิงกับอากาศที่ดีถ้าสามารถคลุมพื้นที่ได้ทั้งหมดโดยไม่มีช่องว่าง
  3. การลดความร้อนที่ทำให้เกิดการระเหย (Elimination Heat Causing Oil Vapouri Zation)  ความร้อนทำให้เชื้อเพลิงระเหยเป็นไอ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องลดความร้อนลง เพื่อไม่ให้เชื้อเพลิงคลายไอน้ำ เป็นตัวสำคัญที่สุดในการลดความร้อน โดยเฉพาะน้ำที่มีฝอยละเอียด จะมีประสิทธิภาพมาก ฝอยน้ำที่ฉีดลงไปบนเปลวไฟจะไปลดความร้อน นอกจากนั้นยังต้องลดความร้อนของวัสดุ และอุปกรณ์ใกล้เคียงต่าง ๆ ให้ต่ำกว่าจุดติดไฟด้วย
  4. การตัดปฏิกิริยาลูกโซ่ (Chain Reaction) เป็นวิธีการดับเพลิงแบบใหม่ได้ผลมาก โดยการใช้สารบางชนิดที่มีความไวต่อออกซิเจนมากเมื่อฉีดลง สารดังกล่าว ได้แก่ พวกไฮโดรคาร์บอนประกอบกับ ฮาโลเจน (Halogenated Hydrocarbon) ซึ่งสาร ฮาโลเจนได้แก่  ไอโอดีโบรมีนคลอรีนและฟลูออรีน สารดับเพลิงประเภทนี้เรียกว่า ฮาลอน (Halon) เป็นต้น

Basic Fire Fighting4

วิธีการดับเพลิงด้วยถังดับเพลิง

1. เครื่องดับเพลิงแบบมือถือ (Portable Fire Extinguisher) ประเภทของเครื่องดับเพลิงแบบมือถือ เครื่องดับเพลิงแบบมือถือ  ตามกฏกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. ๒๕๕๕ เรียกว่า

“เครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้” แต่ถ้าเป็นชาวบ้านอย่างเราเรียกว่า”ถังดับเพลิง” ซึ่งก็มีอยู่หลายประเภท ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นประเภทของเชื้อเพลิงและสถานที่ที่จะฉีดดับเพลิง ซึ่งถังดับเพลิงที่นิยมใช้กันอยู่ตามอาคารบ้านเรือนมีดังต่อไปนี้

  • ถังดับเพลิงแบบมือถือชนิดบรรจุน้ำสะสมแรงดัน ใช้สำหรับดับเพลิงประเภท A เท่านั้น ขนาดที่นิยมใช้กันทั่วไป คือ ขนาด 10 ลิตร ตัวถังทำด้วยแสตนเลส เพื่อป้องกันการเกิดสนิม ภายในถังบรรจุก๊าซไนโตรเจน หรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ เพื่อให้มีความดันสะสม 100 PSI ห้ามนำถังดับเพลิงชนิดนี้ดับเพลิงประเภท C เพราะจะทำให้ผู้ใช้ถูกกระแสไฟฟ้าดูดเสียชีวิตได้
  • ถังดับเพลิงแบบมือถือชนิดบรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ เหมาะสำหรับดับเพลิงประเภท B และ C ระยะการฉีดดับเพลิง 1.5 ถึง 2 เมตร จึงจะได้ประสิทธิภาพสูงภายในบรรจุก๊าซให้มีความดัน 1,200 PSI ดังนั้น ถังต้องเป็นถังไร้ตะเข็บเท่านั้น และทำการตรวจสอบสภาพทุกๆ 6 เดือน โดยวิธีชั่งน้ำหนักแล้วบันทึกข้อมูลเก็บไว้ หากน้ำหนักสูญหายไปเกินกว่า 10 % ควรทำการเติมก๊าซใหม่
  • ถังดับเพลิงแบบมือถือชนิดบรรจุน้ำยาเหลวระเหย นิยมใช้ในบริเวณที่มีอุปกรณ์ไฟฟ้า อิเลคทรอนิคส์ และในบริเวณที่ต้องการความสะอาด เป็นการดับเพลิงแบบตัดปฏิกิริยาลูกโซ่โดยทำให้อับอากาศ สารดับเพลิงชนิดนี้จะระเหยตัวแทนที่อ็อกชิเจน ในขณะเดียวกันก็สามารถลดอุณหภูมิความร้อนของเชื้อเพลิงลงได้
  • ถังดับเพลิงแบบมือถือชนิดบรรจุผงเคมีแห้ง สำหรับฉีดดับเพลิงประเภท A B และ C ภายในบรรจุผงเคมีแห้ง และก๊าซไนโตรเจน ควรมีการตรวจสอบสภาพทุกๆ 6 เดือน เช่น การจับตัวของผงเคมี การรั่วไหลของก๊าซ คันบีบ การอุดตันของปลายหัวฉีด การผุกร่อนของถัง ถังดับเพลิงชนิดนี้นิยมใช้กันมากเพราะมีราคาถูก ดับเพลิงได้ทุกประเภท ข้อเสียคือผงเคมีที่ฉีดออกมาจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินเพิ่ม

2. ระบบน้ำดับเพลิง ปั๊มน้ำดับเพลิง (Fire pump) ในโรงงานอุตสาหกรรมหรือสถานประกอบกิจการต่างๆ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีปั๊มน้ำดับเพลิง ไว้สำหรับปั๊มน้ำจากน้ำสำรองที่มีอยู่ เพื่อควบคุมและดับเพลิงที่เกิดขึ้นมิให้ขยายลุกลาม ซึ่งอาจเป็นปั๊มน้ำดับเพลิงที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลเป็นต้น

กำลังที่จะทำให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมื่อระบบไฟฟ้าถูกตัดลง ปั๊มน้ำดับเพลิงตามมาตรฐาน UL จะมีอยู่หลายขนาด เช่น 500, 700 และ 1,200 GPM ความดันใช้งาน 100-120 PSI

การใช้งานควรกำหนดตารางเวลาการบำรุงรักษา และกำหนดผู้ที่รับผิดชอบในการตรวจสอบอย่างเคร่งครัด เช่น ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิง หากระบบดับเพลิงต่อวงจรโดยอัตโนมัติ จะต้องตรวจสอบว่าหากความดันในเส้นท่อลดลงตามที่กำหนด เช่น 50 PSI แล้วปั๊มจะทำงานได้เอง โดยอัตโนมัติหรือไม่ ปริมาณน้ำสำรอง ควรต้องเตรียมน้ำสำรอง ในการควบคุมและดับเพลิงที่เกิดขึ้นอย่างน้อยตาม

กฏกระทรวง “กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. ๒๕๕๕” กำหนดให้นายจ้างจัดเตรียมน้ำสำรองไว้ใช้ในการดับเพลิง ในกรณีที่ไม่มีท่อจ่ายน้ำดับเพลิงของทางราชการในบริเวณที่สถานประกอบการตั้งอยู่หรือมีแต่ปริมาณน้ำไม่เพียงพอ โดยนายจ้างต้องจัดเตรียมน้ำสำรองให้เป็นไปตามกฎหมายเป็นอย่างน้อย

 

Basic Fire Fighting

 

การอบรมดับเพลิงขั้นต้น ภาคปฏิบัติตามกฎหมายมีดังนี้

  • ฝึกการดับเพลิงประเภท เอ ด้วยการใช้ถังดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้ ที่สามารถใช้ดับเพลิงประเภท เอ
  • ฝึกการดับเพลิงประเภท บี ด้วยการใช้ถังดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้ ที่สามารถใช้ดับเพลิงประเภท บี
  • ฝึกการดับเพลิงประเภท ซี ด้วยการใช้ถังดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้ ที่สามารถใช้ดับเพลิงประเภท ซี
  • ฝึกการดับเพลิงโดยใช้สายดับเพลิง

หากใครสนใจอบรมดับเพลิงขั้นต้นสามารถติดต่อสอบถามได้เรายินดีให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการจัดอบรมดับเพลิงขั้นต้นที่ถูกต้องพร้อมมอบส่วนลดให้กับคุณอย่างพิเศษ อีกทั้งเรายังได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าชั้นนำในประเทศไทยมากกว่า 500 บริษัท พร้อมได้รับการรับรองมาตรฐานสากล ISO 9001 อีกด้วย

You may also like

Copyright @2023 – All Right Reserved. Designed and Developed by yricslyric